หน้าเว็บ

ค้นหาเฟินได้ที่นี่

กล่าวกันว่าสีเขียวของเฟินเป็นเสมือนตัวแทนความชอุ่มชุ่มชื้นของผืนป่า ในสวนหย่อมกลางเมือง ในสวนหน้าระเบียงแคบ ๆ ของคอนโดฯ หรือแม้ในม่านน้ำตกจำลองที่ชุ่มชื่นไปด้วยสายน้ำ และสีเขียวชื่นตาของไม้ประดับ จึงมักมีสีเขียวของเฟินปรากฏร่วมอยู่เสมอ สีเขียวหลากเฉด รวมทั้งรูปใบที่แตกต่างหลากหลายของเฟิน เป็นเสน่ห์ที่หาได้ยากในพันธุ์ไม้อื่น และทำให้คนส่วนใหญ่คุ้นตากับเฟิน ในฐานะไม้ประดับที่พบเห็นได้ทั่วไป แต่ถึงแม้เราจะคุ้นเคยกับเฟินกันดี ทว่ากลับมีน้อยคนนัก ที่จะรู้จักเฟินอย่างแท้จริง จะมีใครสักกี่คนที่รู้ว่า เฟินต้นเล็ก ๆ แลดูบอบบางที่เราอาจพบได้ตามริมกำแพงชื้น ๆ หลังบ้านนั้น เป็นเสมือนตัวแทนประวัติศาสตร์อันเก่าแก่ ยาวนานหลายร้อยล้านปี ก่อนหน้าการถือกำเนิดของไดโนเสาร์เสียอีก

วันอังคารที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เฟินใบมะขามน้ำตก (Nephrolepsis pendula)

เฟินใบมะขามน้ำตก

เฟินใบมะขามน้ำตก ขนาดที่นำมาจำหน่าย
จำหน่ายเฟินใบมะขามน้ำตก เป็นเฟินใบมะขามของทางเหนือ ชอบขึ้นอยู่ตามหินผา บนต้นไม้ ลำต้นถึงมีวิวัฒนาการให้ยึดยาวกว่าเฟินใบมะขามแบบธรรมดา ใบกว้าง ใหญ่ ก้านใบยาวได้ถึง 100 -120 ซม. ปลูกในกระถางขนาด 6 นิ้ว  เลี้ยงง่ายโตไว สำหรับปลูกประดับบ้าน จัดสวน
เพิ่มบรรยากาศ สีเขียวให้กับบ้าน พร้อมทั้งประโยชน์ในการจัดการกับสารพิษ ปลูกไว้รอบตัวบ้าน ทำให้บ้านดูสดชื่น 1 กระถางมีหลายต้น สามารถนำไปแยกได้ ใช้วัสดุอย่างเช่น เปลือกมะพร้าวแห้งสับเป็นชิ้นเล็กๆ หรือหาซื้อได้ตามร้านจำหน่ายต้นไม้ทั่วไป

**** จำหน่ายกระถางละ 300 บาทเท่านั้น**** 
***ยังไม่รวมค่าจัดส่ง***

วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อย่างไรคือ เฟิน


เราจะแยกเฟินออกจากพืชอื่น ๆ ได้อย่างไร ?
   
 หลักง่าย ๆ ประการแรกที่ใช้สังเกตก็คือ ยอดอ่อน เฟินส่วนใหญ่จะมียอดอ่อนที่ม้วนงอ ซึ่งเราเรียกว่า Crozier หรือ Fiddlehead ที่ต้องใช้คำว่าส่วนใหญ่ก็เพราะ เฟินบางชนิดมียอดอ่อนที่ไม่ม้วนงอ หรือม้วนงอไม่ชัดเจน เช่น เฟินในวงศ์ตีนมือนกเขา (Ophioglossaceae) ขณะเดียวกันพืชอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เฟินก็อาจมียอดอ่อนม้วนงอได้เช่นกัน อาทิพืชจำพวกหยาดน้ำค้าง (Droceraceae) บางชนิดซึ่งเป็นพืชกินแมลง ดังนั้นเพื่อความแน่นอน เราจึงต้องพิจารณาลักษณะหลาย ๆ อย่างประกอบกันไป
    ดอกก็เป็นข้อสังเกตหนึ่งที่สำคัญ เพราะเฟินทุกชนิดเป็นพืชไร้ดอก พืชใดก็ตามที่มีดอกแม้ว่ามันจะมีใบที่คล้ายเฟินเพียงไร มันก็ไม่ใช่เฟิน อย่างไรก็ตาม การสังเกตว่าพืชชนิดใดเป็นเฟินหรือไม่ โดยดูจากดอก ก็มีข้อพึงระวัง เนื่องจากพืชหลายชนิดแม้จะเป็นพืชดอก แต่หากในช่วงเวลาที่เราสังเกต ไม่ใช่ช่วงเวลาที่เหมาะสมต่อการออกดอก มันก็จะไม่มีดอกปรากฏให้เห็น และอาจทำให้เราสับสน หรือเข้าใจผิดว่า มันเป็นพืชไร้ดอกได้
    ในเมื่อเฟินไม่มีดอก สิ่งที่ตามมาก็คือมันจะไม่สามารถสร้างเมล็ดได้ ถ้าเช่นนั้นเฟินขยายพันธุ์ได้อย่างไร ?
    ธรรมชาติได้สรรค์สร้างให้เฟินมีสิ่งพิเศษที่เรียกว่า สปอร์ (spore) เพื่อใช้ในการขยายพันธุ์ เจ้าสปอร์ที่ว่านี่มีขนาดเล็กมาก จนแทบจะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า พวกมันจะเกิดรวมกันอยู่ในถุงขนาดเล็ก ที่เราเรียกว่า อับสปอร์ (sporangium) ซึ่งมีขนาดไม่แตกต่างไปจากฝุ่นผงสักเท่าไร อับสปอร์นี้จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ บริเวณใต้ใบเรียกว่า กลุ่มอับสปอร์ (sorus) โดยการรวมกลุ่มของมันอาจมีรูปร่างต่าง ๆ กันไป เช่น รูปกลม รูปรี เป็นเส้นยาว ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด และประเภทของเฟิน กลุ่มอับสปอร์นี้เอง ที่เราสามารถเห็นได้ชัดด้วยตาเปล่า เมื่อพลิกดูด้านใต้ของใบเฟิน และเป็นจุดสังเกตอีกประการหนึ่งของเฟิน แต่ในบางครั้ง เราอาจจะไม่เห็นกลุ่มอับสปอร์ที่ว่า หากเฟินดังกล่าวยังโตไม่เต็มที่ หรืออยู่ในฤดูกาลที่ไม่เหมาะสม
    ใบของเฟินทุก ๆ ใบไม่จำเป็นจะต้องมีกลุ่มอับสปอร์อยู่เสมอไป การมีหรือไม่มีสปอร์นี้จะถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่ใบยังม้วนงออยู่ หากใบคลี่ออกมาแล้วไม่มีกลุ่มอับสปอร์ ใบดังกล่าว ก็จะไม่สามารถสร้างสปอร์ได้อีกในภายหลัง เราจึงจำแนกใบของเฟิน ตามการสร้างสปอร์ออกได้เป็น สองแบบ คือ ใบไม่สร้างสปอร์ (sterile frond) และใบสร้างสปอร์ (fetile frond) ซึ่งในเฟินบางชนิดนั้น ใบทั้งสองแบบอาจมีรูปร่างที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง แม้ว่ามันจะอยู่บนต้นเดียวกันก็ตาม
    ในบางครั้งการใช้คำว่าเฟิน ยังอนุโลม ให้หมายรวมไปถึงญาติสนิทของเฟิน อันได้แก่ หวายทะนอย (Psilotaceae) ช้องนางคลี่ (Lycopodiaceae) พ่อค้าตีเมีย (Selaginellaceae) กระเทียมนา (Isoetaceae) และหญ้าถอดปล้อง (Equisetaceae) ด้วย กลุ่มพืชเหล่านี้ไม่ใช่เฟินที่แท้จริง แต่เป็นเพียงญาติ ๆ ที่โบราณกว่าเท่านั้น เนื่องจากพวกมันยังมีพัฒนาการในส่วนต่าง ๆ ไม่เท่าเทียมกับเฟิน อย่างไรก็ตามพวกมันมักถูกนำมากล่าวถึง ในหนังสือร่วมกันกับเฟินอยู่เสมอ ๆ โดยใช้คำว่า Ferns and Fern Allies นั่นเอง

ที่มา: สารคดี

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ชายผ้าสีดา

ชายผ้าสีดาต้นนี้เมื่อก่อนได้แค่มอง ช่วงที่ผมได้กลับมาอยู่บ้านใหม่ ๆ นั้น ได้มีโอกาศร่วมงานเข้าพรรษา ที่บ้านประจำหมู่บ้าน ได้ไปเห็นเฟินชนิดนี้เกาะอยู่กับต้นฉำฉา ขนาดใหญ่ที่อยู่หน้าวัด ตอนนั้นได้แค่ถ่ายภาพมาไว้ชมเฉยๆ แต่พอเวลาผ่านมาในไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทางวัดได้จัดทำซุ้มประตูหน้าวัดใหม่ แล้วกิ่งก้านขนาดใหญ่ของต้นฉำฉาอยู่ในแนวที่ต้องทำประตูด้วย ช่างก็เลยตัดกิ่งลงมาแถมพ่วงด้วย เฟินชายผ้าสีดาขนาดใหญ่ในภาพนี้ เป็นบุญของผมด้วยมั้ง ผมเองก็ไม่รู้หรอก ว่าเขาเอาลงมาไว้ด้านล่างเมื่อไรแล้ว เป็นเมื่อก่อนตอนกิ่งฉำฉาหักลงมาที่ไร ถ้ามีเฟินชายผ้าสีดาติดอยู่ด้วย ก็แย่งกันใหญ่เลยครับ  แต่ที่ผมได้มาก็ไม่ได้ไปแย่งใครเขาหรอก หลวงลุงคงเห็นว่าผมเลี้ยงกล้วยไม้และเฟินอยู่ก็เลยให้เด็กวัดมาบอกให้ผมไปเอามาเลี้ยง ก็เลยโชคดีของผมไปที่ได้มีโอกาศเลี้ยงเฟินที่มีอายุมากกว่าผมต้นนี้ เมื่อก่อนไปพบในป่าได้แต่มองแหละครับ ใหญ่กว่านี้มาก กล้องที่ผมมีก็ถ่ายได้ไม่ถึงครับ อยู่บนต้นไม้ใหญ่ และก็สูงกว่าต้นฉำฉาที่อยู่หน้าวัดเสียอีก